ทำไมต้องเรียนต่อ ป.โท-เอก ที่ม.อ.? (Why PSU ? by Prof.Dr.Suchart Limkatanyu)
ทำไมต้องเรียนต่อ ป.โท-เอก ที่ม.อ.? (Why PSU ? by Prof.Dr.Sompong Te-chato)
-
ทำไมต้องเรียนต่อ ป.โท-เอก ที่ม.อ.? (Why PSU ? by Prof.Dr.Suchart Limkatanyu)
-
ทำไมต้องเรียนต่อ ป.โท-เอก ที่ม.อ.? (Why PSU ? by Prof.Dr.Sompong Te-chato)
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เริ่มก่อตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2561 นับรวมเป็นระยะเวลา 38 ปี ในขณะที่มหาวิทยาลัยก่อตั้งมาครบ 50 ปี ซึ่งมหาวิทยาลัยฯ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาความเข้มแข็งทางวิชาการเพื่อจะนำไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย โดยบัณฑิตศึกษาเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้มหาวิทยาลัยบรรลุวัตถุประสงค์ ดังกล่าว ดังนั้นการบริหารจัดการระบบบัณฑิตศึกษาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการนำมหาวิทยาลัยไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ องค์กรแห่งคุณภาพและเป็นองค์กรที่มีความโดดเด่นทางวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
บัณฑิตวิทยาลัยมีหน้าที่หลัก คือ ประสานงานในการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา รักษามาตรฐานการศึกษาและประกันคุณภาพการศึกษา ส่งเสริม สนับสนุนการค้นคว้าวิจัย และเป็นหน่วยงานกลางในการรับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา รวมถึงในการพัฒนาปัจจัยเกื้อหนุนให้ระบบการผลิตบัณฑิตมีความเข้มแข็งและมีคุณภาพ โดยพิจารณาตั้งแต่ปัจจัยนำเข้า กระบวนการผลิต ผลผลิต และสัมฤทธิ์ผล
ทางด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ การให้ทุนการศึกษาประเภทต่าง ๆ การเปิดโอกาสให้ทดลองเรียน การลงทะเบียนเป็นผู้ร่วมเรียน และ การประชาสัมพันธ์ในวงกว้าง รวมถึงการยกเว้นค่าธรรมเนียมการสมัครสำหรับบัณฑิตเกียรตินิยม
ในกระบวนการผลิต เป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่มีความสำคัญอย่างมาก ได้แก่ การให้ทุนสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์แก่นักศึกษาทุกคน บัณฑิตวิทยาลัยได้เพิ่มวงเงินพิเศษสำหรับวิทยานิพนธ์ที่ระบุว่าจะตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารทางวิชาการ นอกจากนั้นยังมีทุนช่วยสอน และทุนอุดหนุนการวิจัยสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาหลักและนักศึกษา
ในปีการศึกษา 2561 บัณฑิตวิทยาลัยมีหลักสูตรที่เปิดสอนระดับปริญญาเอก จำนวน 56 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท จำนวน 112 สาขาวิชา หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง จำนวน 3 สาขาวิชา และ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต จำนวน 1 สาขาวิชา รวมแล้วทั้งสิ้นมีหลักสูตรที่เปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาจำนวน 172 สาขาวิชา และ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จำนวนประมาณ 4,405 คน