ทุนการศึกษา
ทุนบัณฑิตศึกษาสงขลานครินทร์ - PSU-Ph.D. Scholarship
จํานวนทุน : 10 ทุน
มูลค่าทุน : ค่าใช้จ่ายส่วนตัว เดือนละ 10,000 บาท และยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษา
ระยะเวลาการรับทุน :
- 3 ปีการศึกษาสำหรับนักศึกษาฐานปริญญาโท
- 4 ปีการศึกษาสำหรับนักศึกษาฐานปริญญาตรี
คุณสมบัติ :
นักศึกษาไทยและต่างชาติที่เข้าศึกษาระดับปริญญาเอก
*หมายเหตุ นักศึกษาต่างชาติจะต้องพำนักและและศึกษาวิจัยที่มีการเก็บข้อมูลภายในประเทศไทยเท่านั้น
เงื่อนไข :
- การคัดเลือกพิจารณาจากผลการเรียนและประสบการณ์ในการทำวิจัย
- มีความก้าวหน้าการทำวิทยานิพนธ์ตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด หากไม่สามารถดำเนินการได้จะถูกระงับการให้ทุนทันที
- สอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัยและ/หรือเกณฑ์ตามหลักสูตรกำหนดเรียบร้อยแล้ว
- รายงานความก้าวหน้าการทำวิทยานิพนธ์ทุก 6 เดือน
- ต้องได้ผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ตามหลักเกณฑ์ที่ กพอ. กำหนดอย่างน้อย 2 เรื่องก่อนสำเร็จการศึกษาสำหรับนักศึกษาในกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หรือมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ตามหลักเกณฑ์ที่ กพอ. กำหนดอย่างน้อย 3 เรื่องก่อนสำเร็จการศึกษา โดย 1 ใน 3 เรื่องนั้นจะต้องอยู่ในฐานข้อมูล Web of Science สำหรับนักศึกษาในกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ
วิธีการคัดเลือก : สอบสัมภาษณ์
กำหนดการรับสมัคร : เดือนพฤศจิกายน
ทุนผู้ช่วยสอน - Teaching Assistant (TA) Scholarship
จํานวนทุน : 35 ทุน
มูลค่าทุน : ทุนละ 30,000 บาท
ระยะเวลาการรับทุน : 10 เดือน
คุณสมบัติ : นักศึกษาระดับปริญญาโท
เงื่อนไข :
- ช่วยทํางานที่มีลักษณะเกี่ยวกับวิชาการในสาขาที่กําลังศึกษาอยู่
1.1 ช่วยควบคุมการปฏิบัติการในระดับปริญญาตรี
1.2 ช่วยตรวจแบบฝึกหัดและรายงานในระดับปริญญาตรี
1.3 เป็นผู้ช่วยสอน หรือผู้บรรยายทบทวนในระดับปริญญาตรี
1.4 งานอื่นๆ ด้านวิชาการที่หัวหน้าภาควิชามอบหมาย - ทํางานให้กับภาควิชาในหน้าที่ตามข้อ 1
วิธีการคัดเลือก : คณะฯ เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกนักศึกษาเข้ารับทุนผู้ช่วยสอน
กําหนดการรับสมัคร : เดือนเมษายน - พฤษภาคม
ทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์
ทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ - Thesis Research Grant
จํานวนทุน : ไม่กำหนดจำนวนทุน แต่ขึ้นอยู่กับงบประมาณที่ได้รับ และจำนวนนักศึกษาที่สมัครขอรับทุน
มูลค่าทุน :
- ระดับปริญญาเอก
- งานวิจัยประเภททดลองทางวิทยาศาสตร์/พัฒนาเครื่องมือ/พัฒนานวัตกรรมที่ต้องใช้วัสดุราคาแพง โครงการละไม่เกิน 50,000 บาท
- งานวิจัยประเภทเชิงสำรวจ/ศึกษาเชิงพรรณนา/ทดลองทางสังคมศาสตร์ โครงการละไม่เกิน 28,000 บาท
- ระดับปริญญาโท
- งานวิจัยประเภททดลองทางวิทยาศาสตร์/พัฒนาเครื่องมือ/พัฒนานวัตกรรมที่ต้องใช้วัสดุราคาแพง โครงการละไม่เกิน 12,000 บาท
- งานวิจัยประเภทเชิงสำรวจ/ศึกษาเชิงพรรณนา/ทดลองทางสังคมศาสตร์ โครงการละไม่เกิน 6,000 บาท
ระยะเวลาการรับทุน : ภายใน 2 ปีงบประมาณ นับตั้งแต่ปีงบประมาณที่จัดสรร
คุณสมบัติ :
- นักศึกษาซึ่งกำลังศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา และได้รับการอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์ (บว.2) แล้ว
- นักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษาหรือทุนวิจัยต่าง ๆ ที่สนับสนุนเงินสำหรับการวิจัย จะไม่มีสิทธิ์สมัครขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ได้อีก เช่น
- ทุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โครงการพัฒนาอาจารย์และบุคลากรสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในเขตพัฒนาเฉพาะกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้
- ทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์จากบัณฑิตวิทยาลัยซึ่งนักศึกษาได้รับการจัดสรรในปีก่อนหน้านี้แล้ว รวมถึงกรณีที่นักศึกษาได้ขอยกเลิกการรับทุนดังกล่าวไม่ว่าในกรณีใด ๆ
- ทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ในหัวข้อการแก้ไขปัญหาของชุมชน
- ทุนอุดหนุนอื่น ๆ เช่น ทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ทุนผู้ช่วยวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ทุนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ฯลฯ ทุนอุดหนุนการวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษาจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ทุนวิจัยบัณฑิตศึกษาด้านการเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตรจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก) และทุน”ผู้มีศักยภาพสูงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ภาคเศรษฐกิจ สังคม และชุมชน” (Talent Utilization) ฯลฯ ที่มีการสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งในการทำวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์
- ทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ของกองทุน His Royal Highness Prince Khalifa Bin Salman Al Khalif ที่ศึกษาเกี่ยวกับราชอาณาจักรบาห์เรน
ยกเว้นผู้ที่ได้ทุนจากทุกแหล่งทุนทั้งในและภายนอกมหาวิทยาลัยที่ระยะเวลาการรับทุนสิ้นสุดก่อนจะยื่นขอทุนอุดหนุนวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ สามารถขอสมัครทุนนี้ได้ - นักศึกษาบัณฑิตศึกษาที่ได้รับการจัดสรรทุนแล้วต่อมาพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาไม่ว่ากรณีใด ๆ และกลับเข้าศึกษาใหม่ นักศึกษาจะไม่มีสิทธิ์สมัครขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์
เงื่อนไข :
- นักศึกษาจะได้รับเงินทุนตามงบประมาณโครงการวิจัยที่ได้รับอนุมัติหลังจากได้ทำบันทึกข้อตกลงในการรับทุนเรียบร้อยแล้ว
- หากตรวจสอบพบว่าข้อมูลที่แจ้งมาในใบสมัครขอรับทุนและข้อมูลการขอทุนผ่านระบบไม่ตรงกับความเป็นจริง บัณฑิตวิทยาลัยขอสงวนสิทธิ์ในการระงับการพิจารณาการให้ทุนดังกล่าว
- ในกรณีนักศึกษายื่นใบสมัครขอรับทุนแล้ว และบัณฑิตวิทยาลัยขอให้ปรับแก้เอกสารประกอบการรับทุน เช่น การปรับแก้ไขวงเงิน หรือรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เป็นต้น หากนักศึกษาไม่ปรับแก้ไขเอกสารและส่งภายในเวลาที่กำหนด บัณฑิตวิทยาลัยขอตัดสิทธิ์การขอรับทุนในปีนี้
- นักศึกษาที่ได้รับทุนแล้วต้องปฏิบัติตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติเกี่ยวกับทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาอย่างเคร่งครัด และภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่ปฏิบัติตามนักศึกษาที่ได้รับทุนดังกล่าวต้องคืนเงินทุนเต็มจำนวนหรือบางส่วนตามที่บัณฑิตวิทยาลัยเห็นสมควร
- นักศึกษาที่ได้รับทุนต้องส่งหลักฐานการเบิกจ่ายเงินทุนที่คณะต้นสังกัดภายใน 2 ปีงบประมาณและก่อนสำเร็จการศึกษา
วิธีการคัดเลือก :
- พิจารณาโดยคณะกรรมการจัดสรรเงินอุดหนุนการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์
- พิจารณาจัดสรรให้กับนักศึกษาบัณฑิตศึกษาเข้าศึกษาในปีการศึกษาของแต่ละปี เช่น ในปีที่ผ่านมา ปีการศึกษา 2565 และ 2564 เป็นลำดับแรก และนักศึกษาบัณฑิตศึกษาที่เข้าศึกษาก่อนปีการศึกษา 2564 จะพิจารณาเป็นลำดับถัดไป
- ผลการพิจารณาการจัดสรรทุนของคณะกรรมการให้ถือเป็นที่ยุติ โดยไม่มีการอุทธรณ์
กําหนดการรับสมัคร : เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์
ทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ในหัวข้อการแก้ไขปัญหาชุมชน - Thesis Research Funding for Topics on Community Problem Solving
จํานวนทุน : ประมาณ 10 ทุน
มูลค่าทุน : ทุนละไม่เกิน 50,000 บาท
ระยะการรับทุน : ภายใน 2 ปีงบประมาณ นับตั้งแต่ปีงบประมาณที่จัดสรร
คุณสมบัติ :
- นักศึกษาระดับปริญญาโท แผน ก (ทำวิทยานิพนธ์) หรือ นักศึกษาระดับปริญญาเอก
- นักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษาหรือทุนวิจัยต่าง ๆ ที่สนับสนุนเงินสำหรับการวิจัย จะไม่มีสิทธิ์สมัครขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ในหัวข้อการแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อีก เช่น
- ทุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โครงการพัฒนาอาจารย์และบุคลากรสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในเขตพัฒนาเฉพาะกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้
- ทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ในหัวข้อการแก้ไขปัญหาของชุมชนจากบัณฑิตวิทยาลัย ซึ่งนักศึกษาได้รับการจัดสรรในปีก่อนหน้านี้แล้ว รวมถึงกรณีที่นักศึกษาได้ขอยกเลิกการรับทุนดังกล่าวไม่ว่าในกรณีใด ๆ
- ทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์จากบัณฑิตวิทยาลัย
- ทุนอุดหนุนอื่น ๆ เช่น ทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ทุนผู้ช่วยวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ทุนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ทุนอุดหนุนการวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ทุนวิจัยบัณฑิตศึกษาด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก) และ ทุน”ผู้มีศักยภาพสูงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ภาคเศรษฐกิจ สังคม และชุมชน” (Talent Utilization) ฯลฯ ที่มีการสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งในการทำวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์
- ทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ของกองทุน His Royal Highness Prince Khalifa Bin Salman Al Khalif ที่ศึกษาเกี่ยวกับราชอาณาจักรบาห์เรน
ยกเว้นผู้ที่ได้ทุนจากทุกแหล่งทุนทั้งในและภายนอกมหาวิทยาลัยที่ระยะเวลาการรับทุนสิ้นสุดก่อน จะยื่นขอทุนอุดหนุนวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ในหัวข้อการแก้ไขปัญหาของชุมชน - นักศึกษาบัณฑิตศึกษาที่พ้นสภาพการเป็นนักศึกษาไม่ว่ากรณีใด ๆ และได้รับอนุมัติให้เข้ามาศึกษาใหม่นักศึกษาจะไม่มีสิทธิ์สมัครขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ในหัวข้อการแก้ไขปัญหาของชุมชน
- คุณสมบัตินอกเหนือจากนี้ให้เป็นไปตามการพิจารณาของคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
เงื่อนไข :
- นักศึกษาที่ได้รับทุนนี้ก่อนไม่มีข้อจำกัดใด ๆ ในการขอรับทุนอื่น
- บัณฑิตวิทยาลัยจ่ายเงินทุนตามงบประมาณโครงการวิจัยที่ได้รับอนุมัติให้ผู้ได้รับทุน โดยแบ่งจ่ายเป็น 2 งวด ดังนี้
- งวดที่ 1 เมื่อผู้ได้รับทุนทำบันทึกข้อตกลงแล้ว จะจัดสรรให้ร้อยละ 80 ของเงินทุนที่ได้รับ
- งวดที่ 2 เมื่อผู้ได้รับทุนนำผลงานวิจัยไปเผยแพร่กับชุมชนโดยมีหนังสือรับรองจากชุมชน และแจ้งบัณฑิตวิทยาลัยเพื่อพิจารณาอนุมัติก่อน จึงจะจัดสรรทุนที่เหลืออีกร้อยละ 20 - หากตรวจสอบพบว่าข้อมูลที่แจ้งมาในใบสมัครขอรับทุนและข้อมูลการขอทุนผ่านระบบไม่ตรงกับความเป็นจริง บัณฑิตวิทยาลัยขอสงวนสิทธิ์ในการระงับการพิจารณาการให้ทุนดังกล่าว และขอให้ชดใช้เงินทุนเต็มจำนวน
- ในกรณีที่นักศึกษายื่นใบสมัครขอรับทุนแล้ว และบัณฑิตวิทยาลัยขอให้ปรับแก้เอกสารประกอบการรับทุน เช่น การปรับแก้ไขวงเงิน หรือรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เป็นต้น หากนักศึกษาไม่ปรับแก้ไขเอกสารและส่งภายในเวลาที่กำหนด บัณฑิตวิทยาลัยขอตัดสิทธิ์การขอรับทุนในปีนั้น
- นักศึกษาที่ได้รับทุนแล้วต้องปฏิบัติตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติเกี่ยวกับทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาอย่างเคร่งครัด
ลักษณะโจทย์วิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ :
- เป็นหัวข้อที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาชุมชนภาคใต้
- มุ่งให้เกิดผลกระทบในเชิงสาธารณะทั้งภาคสังคม และ/หรือเศรษฐกิจ
- มีผลลัพธ์ (Outcome) เชิงประจักษ์และเป็นรูปธรรม
วิธีการคัดเลือก :
- พิจารณารอบแรกจากเอกสารเชิงหลักการโครงการวิจัย
- หากผ่านคัดเลือกรอบแรก จะได้รับการสัมภาษณ์จากคณะกรรมการ
กําหนดการรับสมัคร : เดือนมิถุนายน
ทุนสนับสนุนการเดินทางไปทำงานวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ในต่างประเทศสำหรับนักศึกษาปริญญาเอก - Ph.D. Overseas Thesis Research Scholarship
จํานวนทุน : ตามประกาศในแต่ละปี
มูลค่าทุน : ทุนละ 300,000 บาท
ระยะเวลาการรับทุน : ทำวิจัยในต่างประเทศเป็นเวลาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 เดือน
คุณสมบัติ : นักศึกษาสัญชาติไทยระดับปริญญาเอกชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป
เงื่อนไข : การไปทำงานวิจัยในต่างประเทศ ต้องได้ผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติตามหลักเกณฑ์ที่ กพอ.กำหนดอย่างน้อย 2 เรื่อง ก่อนสำเร็จการศึกษา
วิธีการคัดเลือก : สอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์
กําหนดการรับสมัคร : เดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม
ทุนอุดหนุนการวิจัยของมูลนิธิการศึกษาเซล 100 ปี - Shells 100th Years Anniversary Foundation for Research Scholarship
จํานวนทุน : ไม่กําหนดจํานวนทุน
มูลค่าทุน : ทุนละไม่เกิน 100,000 บาท
ระยะเวลาการรับทุน :
- ระดับปริญญาโท หลักสูตร 2-3 ปี ระยะเวลาการให้ทุนไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันทำสัญญารับทุน
- ระดับปริญญาเอก หลักสูตร 3-5 ปี ระยะเวลาการให้ทุนไม่เกิน 3 ปี นับตั้งแต่วันทำสัญญารับทุน
คุณสมบัติ :
- มีสัญชาติไทย
- เป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอก ในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์ ปิโตรเคมี โลจิสติกส์ พลังงานทดแทน และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และได้รับอนุมัติหัวข้อการทำวิทยานิพนธ์
- ไม่เป็นผู้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย/วิทยานิพนธ์ในโครงการเดียวกันจากแหล่งทุนอื่น ยกเว้นได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการมูลนิธิจัดสรรเป็นกรณีไป
เงื่อนไข :
- งานวิจัยเพื่อการทำวิทยานิพนธ์เรื่องที่เสนอขอรับทุนต้องได้รับอนุมัติจากบัณฑิตวิทยาลัยที่ผู้ขอรับทุนกำลังศึกษาอยู่ และมีอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษานั้นเป็นผู้ควบคุม หรือเป็นที่ปรึกษาในการทำวิจัย/วิทยานิพนธ์
- การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกี่ยวด้วยรายละเอียดตามโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้วต้องได้รับอนุมัติจากอาจารย์ที่ปรึกษา และบัณฑิตวิทยาลัยแล้วแจ้งให้มูลนิธิฯ ทราบทันที และต้องได้รับความเห็นขอบจากมูลนิธิฯ จึงมีสิทธิ์ได้รับทุนการวิจัยต่อไป ยกเว้นการเปลี่ยนแปลงหัวข้อการวิจัยจะงดการให้ทุน
- ในกรณีที่ผู้รับทุนไม่สามารถทำการวิจัย/วิทยานิพนธ์ต่อไปได้หรือไม่อาจทำการวิจัย/วิทยานิพนธ์ให้แล้วเสร็จได้ และประสงค์จะขอยุติงานวิจัย/วิทยานิพนธ์ ตามโครงการที่ได้รับอนุมัติผู้รับทุนหรือผู้แทนยื่นคำร้องต่อมูลนิธิฯ
- งานวิจัย/วิทยานิพนธ์ ควรเป็นงานเชิงพัฒนาไม่ใช่สำรวจอย่างเดียว
- มูลนิธิฯ ขอสงวนสิทธิ์ ที่จะระงับการให้ทุน ในกรณีที่ผู้รับทุนไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบนี้ หรือตามโครงการวิจัย/วิทยานิพนธ์
วิธีการคัดเลือก :
- คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่ผู้สมัครขอรับทุนจะเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกงานวิจัย/วิทยานิพนธ์ที่สมควรได้รับทุนเบื้องต้นและนำเสนอคณะกรรมการบริหารทุนฯ ถือเป็นอันสิ้นสุด
- เมื่อได้รับแจ้งอนุมัติทุนแล้ว ผู้รับทุนจะต้องทำสัญญาขอรับทุน จำนวน 2 ชุด ยื่นต่อคณะกรรมการบริหารทุนฯ
กําหนดการรับสมัคร : เดือนตุลาคม
ทุนวิจัยบัณฑิตศึกษาด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร จากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) - Research Grant for Agriculture and Agro-Industry from Agricultural Research Development Agency (ARDA)
จํานวนทุน : เป็นไปตามนโยบายของ สวก.
มูลค่าทุน :
- ระดับปริญญาโท ทุนละไม่เกิน 100,000 บาท
- ระดับปริญญาเอก ทุนละไม่เกิน 250,000 บาท
ระยะเวลาการรับทุน : ไม่เกิน 2 ปี
คุณสมบัติ :
- สัญชาติไทย
- เป็นผู้กำลังศึกษาระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอกในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรอง และรวมถึงสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
- โครงร่างวิทยานิพนธ์ที่เสนอขอรับทุน ต้องได้รับอนุมัติจากสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัดที่ผู้เสนอขอรับทุนกำลังศึกษาอยู่
- ไม่เป็นผู้ได้รับทุนวิจัยในโครงการวิจัยเดียวกันจากแหล่งทุนอื่นมาก่อน
เงื่อนไข : เป็นไปตามข้อกำหนดของทุน
วิธีการคัดเลือก : เป็นไปตามข้อกำหนดของทุน
กําหนดการรับสมัคร : เดือนธันวาคม – มกราคม
ทุนอุดหนุนการวิจัยแก่นักศึกษาระดับอุดมศึกษาจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) - Research Grant for Higher Educational Students from Energy Policy and Planning Office (EPPO)
จํานวนทุน : เป็นไปตามนโยบายของ สนพ.
มูลค่าทุน :
- ระดับปริญญาโท ทุนละไม่เกิน 150,000 บาท
- ระดับปริญญาเอก ทุนละไม่เกิน 300,000 บาท
ระยะเวลาการรับทุน : ไม่เกิน 2 ปี
คุณสมบัติ :
- เป็นนักศึกษาไทยซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษา ที่ทำงานวิจัยในหัวข้อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานทดแทน
- เป็นผู้ดำเนินการวิจัยด้วยตนเอง
- มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการวิจัยในสาขาวิชาที่ขอรับทุน
- สามารถปฏิบัติงานได้ตลอดเวลาที่ได้รับทุน
- มีเมธีวิจัยเป็นที่ปรึกษาและควบคุมการดำเนินการวิจัย
เงื่อนไข : เป็นไปตามข้อกำหนดของทุน
วิธีการคัดเลือก : เป็นไปตามข้อกำหนดของทุน
กําหนดการรับสมัคร : เดือนเมษายน – พฤษภาคม
ทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ของกองทุน His Royal Highness Prince Khalifa Bin Salman Al Khalifa ที่ศึกษาเกี่ยวกับราชอาณาจักรบาห์เรน - Research Grant for Thesis from the His Royal Highness Prince Khalifa Bin Salman Al Khalif Fund on Topics Relating to the Kingdom of Bahrai
จํานวนทุน : 1 ทุน
มูลค่าทุน : ไม่เกิน 200,000 บาท
ระยะเวลาการรับทุน : ไม่เกิน 2 ปี นับจากวันลงนามในบันทึกข้อตกลงการรับทุน
ลักษณะโจทย์วิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ : เป็นการกำหนดหัวข้อที่ศึกษาเกี่ยวกับราชอาณาจักรบาห์เรน
คุณสมบัติ :
- นักศึกษาระดับปริญญาโท แผน ก (ทำวิทยานิพนธ์) หรือ
- นักศึกษาระดับปริญญาเอก
เงื่อนไข :
- นักศึกษาที่ได้รับทุนไม่มีข้อจำกัดใด ๆ ในการขอรับทุนอื่น
- นักศึกษาที่ได้รับทุนต้องจัดทำรายงานความก้าวหน้าทุก 6 เดือน
- นักศึกษาที่ได้รับทุนจะต้องระบุว่าได้รับทุนดังกล่าวในกิตติกรรมประกาศของวิทยานิพนธ์
- ผลงานวิจัยของนักศึกษาฉบับสมบูรณ์ จะต้องรายงานไปยังคณะกรรมการบริหารกองทุน His Royal Highness Prince Khalifa Bin Salman Al Khalifa เพื่อทราบ
- การจัดทำเล่มวิทยานิพนธ์กำหนดให้มีบทคัดย่อภาษาอารบิก (อาหรับ) ด้วย
- บัณฑิตวิทยาลัยจ่ายเงินทุนตามงบประมาณโครงการวิจัยที่ได้รับอนุมัติให้ผู้ได้รับทุน โดยแบ่งจ่าย เป็น 2 งวด ดังนี้
- งวดที่ 1 เมื่อผู้ได้รับทุนทำบันทึกข้อตกลงแล้ว จะจัดสรรให้ร้อยละ 80 ของเงินทุนที่ได้รับ
- งวดที่ 2 เมื่อผู้ได้รับทุนส่งผลงานครบถ้วนตามเงื่อนไขการรับทุนและเงื่อนไขการสำเร็จการศึกษา จัดสรรทุนที่เหลืออีกร้อยละ 20
วิธีการคัดเลือก :
- พิจารณารอบแรกจากแบบเสนอโครงการ
- หากผ่านการคัดเลือกรอบแรก จะได้รับการสัมภาษณ์จากคณะกรรมการ
กําหนดการรับสมัคร : เดือนกรกฎาคม
ทุนพัฒนาบัณฑิตศึกษาจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (ทุนวช.) - Graduate Study Development Grant from National Research Council of Thailand (NRCT)
จํานวนทุน : เป็นไปตามนโยบายของ วช.
มูลค่าทุน :
- ระดับปริญญาโท ทุนละไม่เกิน 150,000 บาท
- ระดับปริญญาเอก ทุนละไม่เกิน 300,000 บาท
ระยะเวลาการรับทุน : ไม่เกิน 2 ปี
ลักษณะโจทย์วิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ : โครงการวิจัยที่เสนอขอรับทุน ต้องเป็นหัวข้อเดียวกับวิทยานิพนธ์ โดยโครงร่างวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการอนุมัติจากสถาบันอุดมศึกษาที่ผู้เสนอขอรับทุนกำลังศึกษาก่อนวันปิดรับข้อเสนอการวิจัย โดยมีหัวข้อและเนื้อหาภายใต้หัวข้อวิจัยที่สอดคล้องกับกลุ่มสาขาวิชาตาม OECD ดังนี้
- กลุ่มสาขาวิศวกรรมและเทคโนโลยี (Engineering and technology)
- กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural sciences)
- กลุ่มสาขาเกษตรศาสตร์ (Agriculture sciences)
- กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ (Medical and health sciences)
- กลุ่มสาขาสังคมศาสตร์ (Social sciences)
- กลุ่มมนุษยศาสตร์ (Humanities)
คุณสมบัติ :
- มีสัญชาติไทย
- เป็นผู้ศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก) หรือเทียบเท่าในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย
- กรณีเป็นผู้ที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยในโครงการวิจัยเดียวกันจากแหล่งทุนอื่นมาก่อนต้องแจ้งให้ วช. ทราบและได้รับความเห็นชอบก่อนการทำสัญญารับทุน คำตัดสินของ วช. ถือว่าเป็นที่สิ้นสุด
คุณสมบัติอาจารย์ที่ปรึกษา :
- พำนักอยู่ในประเทศไทย มีคุณสมบัติเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ตามระเบียบของมหาวิทยาลัยที่สังกัด สำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาชาวต่างประเทศ หรืออาจารย์ที่ปรึกษาที่ไม่ใช่ อาจารย์ประจำในสถาบันที่จะเสนอชื่อนักศึกษาเพื่อรับทุน ต้องมีหนังสือรับรองจากคณบดีว่าจะสามารถทำงาน กับมหาวิทยาลัยหรือสถาบันได้จนนักศึกษา สำเร็จการศึกษา
- อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาผู้รับทุน คปก. และโครงการพัฒนานักวิจัยงานวิจัยเพื่อ อุตสาหกรรม (พวอ.) ระดับปริญญาเอก และทุนพัฒนานักวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ระดับปริญญาเอกรวมกัน ไม่เกิน 5 ทุน และเมื่อรวมทุน พวอ. และทุนพัฒนานักวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ระดับปริญญาโท แล้วไม่เกิน 10 ทุน
- อาจารย์ที่ปรึกษาต้องไม่เป็นผู้อำนวยการแผนงาน หรือหัวหน้าโครงการวิจัย ที่ติดค้างการส่งรายงาน การวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยใด ๆ ในระบบ NRIIS ระหว่างปีงบประมาณ 2561 – 2562
เงื่อนไข : เป็นไปตามข้อกำหนดของทุน
วิธีการคัดเลือก : เป็นไปตามข้อกำหนดของทุน
กําหนดการรับสมัคร : เดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม
ทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) - The Royal Golden Jubilee (RGJ) Ph.D. Programme Scholarship
จํานวนทุน : เป็นไปตามนโยบายของ วช.
มูลค่าทุน :
- นักศึกษาฐานปริญญาโท ทุนละ 1,802,000- 1,838,000 บาท
- นักศึกษาฐานปริญญาตรี ทุนละ 2,322,000-2,382,000 บาท
ระยะเวลาการรับทุน :
- นักศึกษาฐานปริญญาโท ระยะเวลารับทุน 3 ปี
- นักศึกษาฐานปริญญาตรี ระยะเวลารับทุน 5 ปี
คุณสมบัติ :
- มีสัญชาติไทย อายุไม่เกิน 40 ปี (นับถึงวันยื่นใบสมัคร) โดยต้องศึกษาในหลักสูตรปกติในเวลาราชการ และสามารถศึกษาวิจัยได้เต็มเวลาโดยไม่ปฏิบัติงานใด ๆ ในขณะที่ได้รับทุน
- ผลการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี และปริญญาโท โดยจะให้ความสำคัญกับผลการศึกษาในรายวิชาหลักที่สอดคล้องกับหลักสูตรที่จะเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก (นักศึกษาวุฒิปริญญาโท จะพิจารณาผลการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วย) ดังนี้
กรณีสมัครโดยใช้วุฒิระดับปริญญาตรี
- ได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่งหรือสอง โดยต้องแนบใบรายงานผลการศึกษา (Transcript) ประกอบด้วย มิให้แนบเฉพาะเอกสารรับรองการได้เกียรตินิยมอย่างเดียว
- ผลการศึกษาเกรดเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่ต่ำกว่า 3.00
- มีผลการศึกษาอยู่ในร้อยละ 25 แรกของจำนวนนักศึกษาทั้งหมดในสาขาวิชาที่เรียน โดยมีหนังสือรับรองจากภาควิชา หลักสูตร หรือสำนักทะเบียน
กรณีสมัครโดยใช้วุฒิระดับปริญญาโท
- ต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและมีผลการศึกษาเกรดเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรี (GPA) ไม่ต่ำกว่า 3.00
- มีผลการศึกษาระดับปริญญาโทไม่น้อยกว่า 3.50
- มีผลการศึกษาระดับปริญญาตรีอยู่ในร้อยละ 25 แรกของจำนวนนักศึกษาทั้งหมดในสาขาวิชาที่เรียน โดยมีหนังสือรับรองจากภาควิชา หลักสูตร หรือสำนักทะเบียน
- มีผลงานวิชาการตีพิมพ์ หรือเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ (โดยพิจารณาจากคุณภาพของผลงานที่เผยแพร่)
กรณีสมัครโดยใช้วุฒิระดับปริญญาโทที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นระดับปริญญาเอก (upgrade)
- ผลการเรียนระดับปริญญาตรีอยู่ในระดับเดียวกับผู้มีวุฒิปริญญาตรี (ข้อ 2.1)
- กรณีผลการเรียนระดับปริญญาตรีไม่ได้เกียรตินิยม ต้องผลการศึกษาเกรดเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่ต่ำกว่า 3.00
- มีผลการเรียนปริญญาโทไม่น้อยกว่า 3.50
- มีผลงานวิชาการตีพิมพ์ หรือเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ (โดยพิจารณาจากคุณภาพของผลงานที่เผยแพร่) - ผลการทดสอบภาษาอังกฤษ TOEFL, IELTS, CU-TEP หรือ TU-GET ย้อนหลังไม่เกิน 1 ปี (นับถึงวันยื่นใบสมัคร) ทั้งนี้หากเป็นผลการทดสอบภาษาอังกฤษจากสถาบันอื่นขอให้มีผลเทียบเท่าคะแนนจากสถาบันข้างต้นเพื่อประกอบการพิจารณา
- นักศึกษาที่เข้าศึกษาระดับปริญญาเอกมาแล้วจะต้องคงเหลือเวลาการศึกษาในระดับปริญญาเอกตามหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2 ปี ณ วันที่ลงนามในสัญญา
- ผู้เสนอขอรับทุนที่ยังไม่เข้าศึกษาระดับปริญญาเอก หากผ่านเกณฑ์การพิจารณาจาก วช. ณ วันลงนามในสัญญาจะต้องมีสถานภาพเป็นนักศึกษาปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยที่สังกัด
- ไม่เป็นผู้ที่ได้รับทุนการศึกษา ทุนวิจัยอื่นใดที่ขัดกับเกณฑ์ของ คปก. หรือทุนวิจัยอื่นที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับทุนนั้น ๆ แล้ว เช่น โครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) หรือโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (สควค.) เป็นต้น
เงื่อนไข : เป็นไปตามข้อกำหนดของทุน
วิธีการคัดเลือก : เป็นไปตามข้อกำหนดของทุน
กําหนดการรับสมัคร : เดือนธันวาคม
ทุนโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ระดับปริญญาโท และปริญญาเอก - The Research and Researchers for Industries (RRI) Scholarship
จํานวนทุน : เป็นไปตามนโยบายของ วช.
มูลค่าทุน :
- ระดับปริญญาโท ทุนละ 502,000 - 600,000 บาท
- ระดับปริญญาเอก
- สำหรับนักศึกษาฐานปริญญาโท ทุนละ 1,898,000 - 2,087,000บาท
- สำหรับนักศึกษาฐานปริญญาตรี ทุนละ 2,482,000 - 2,662,000 บาท
ระยะเวลาการรับทุน : ระยะเวลาการให้ทุนนับจากวันที่ทำสัญญารับทนฯ ไปจนถึงปีที่นักศึกษาจบการศึกษาตามหลักสูตร ไม่นับจากปีที่นักศึกษาเข้าศึกษาในหลักสูตร โดยในวันที่ลงนามในสัญญาจะต้องมีสภาพการเป็นนักศึกษาและต้องมีระยะเวลาคงเหลือในการศึกษา ดังนี้
- รับทุนระดับปริญญาโท ต้องมีเวลาคงเหลือในการศึกษาตามหลักสูตรไม่น้อยกว่า 1 ปี
- รับทุนระดับปริญญาเอก ต้องมีเวลาคงเหลือในการศึกษาตามหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2 ปี
คุณสมบัติ :
- มีสัญชาติไทย อายุไม่เกิน 40 ปี (นับถึงวันยื่นใบสมัคร) โดยต้องศึกษาในหลักสูตรปกติในเวลาราชการ และสามารถศึกษาวิจัยได้เต็มที่เวลาโดยไม่ปฏิบัติงานใด ๆ ในขณะที่ได้รับทุน
- ผลการศึกษา
- ผู้สมัครรับทุนปริญญาโท ต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีผลการศึกษาเกรดเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่ต่ำกว่า 2.50
- ผู้สมัครรับทุนปริญญาเอก กรณีใช้วุฒิปริญญาโทสมัคร
- มีผลการศึกษาเกรดเฉลี่ยสะสม (GPA) ระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.50
- มีผลการศึกษาระดับปริญญาโทไม่น้อยกว่า 3.20
- มีผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ระดับชาติ หรือผลงานตีพิมพ์ เอกสารที่สืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (proceedings)
- ผู้สมัครรับทุนปริญญาเอก กรณีใช้วุฒิปริญญาตรีสมัคร
- ได้เกียรตินิยม หรือมีผลการศึกษาระดับปริญญาตรีอยู่ในร้อยละ 25 แรกของจำนวนนักศึกษาทั้งหมดในสาขาวิชาที่เรียน
- มีผลการศึกษาเกรดเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่ต่ำกว่า 3.00 - ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ หรือผลงานนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ
- ผลการทดสอบภาษาอังกฤษ โดยพิจารณาจากคะแนน TOEFL, IELTS, CU-TEP หรือ TU-GET ย้อนหลังไม่เกิน 1 ปี (นับถึงวันยื่นใบสมัคร) ทั้งนี้หากเป็นผลการทดสอบภาษาอังกฤษจากสถาบันอื่นขอให้มีผลเทียบเท่าคะแนนจากสถาบันข้างต้นเพื่อประกอบการพิจารณา
- ไม่เป็นผู้ที่ได้รับทุนการศึกษา ทุนวิจัยอื่นใดที่ขัดกับเกณฑ์ของ พวอ. หรือทุนวิจัยอื่นที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับทุนนั้น ๆ แล้ว เช่น โครงการปริญญาเอกการจนาภิเษก (คปก.) โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) หรือโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (สควค.) เป็นต้น
เงื่อนไข : เป็นไปตามข้อกำหนดของทุน
วิธีการคัดเลือก : เป็นไปตามข้อกำหนดของทุน
กําหนดการรับสมัคร : เดือนธันวาคม
หมายเหตุ:
- การจัดสรรทุนต่างๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในแต่ละปีการศึกษา และบางปีอาจไม่มีการเปิดรับสมัครขอทุน
- เงื่อนไขการรับทุนเป็นไปตามประกาศรับสมัครประจำปีการศึกษานั้นๆ
- แบบฟอร์มใบสมัครทุนต่างๆ Download คลิก