หลักการและเหตุผล การเรียนรู้ศาสตร์หรือทักษะใหม่ๆ เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นสำหรับผู้ที่ทำงานแล้วในหน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชน โดยที่การเรียนรู้นั้นบางครั้งมิได้หวังผล ในเรื่องของปริญญาบัตร จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ระยะเวลานานในการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย แต่ก็ต้องมีระยะเวลาเพียงพอที่จะได้ความรู้บางอย่างกลับไปพัฒนางานเดิม ผู้ที่เข้ามา ทำวิจัยในลักษณะเช่นนี้ ควรมีสถานภาพที่ชัดเจนในมหาวิทยาลัย เพื่อที่ทั้งอาจารย์และนักศึกษาจะได้รับการดูแลสนับสนุนอย่างเป็นระบบ และมี out put ที่ชัดเจน และโดยระเบียบฯ ว่า ด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2549 ข้อ 31.4 ซึ่งกำหนดให้ “คณะอาจพิจารณารับผู้ที่มีพื้นฐานความรู้ไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าเข้าศึกษาหรือวิจัยโดยไม่รับปริญญา หรือประกาศนียบัตรของมหาวิทยาลัยได้เป็นกรณีพิเศษ”
บัณฑิตวิทยาลัยจึงเห็นสมควรกำหนดแนวทางและรายละเอียดเกี่ยวกับการรับนักวิจัย (Research Fellow) ดังนี้
-
เป็นการศึกษาแบบ non degree
-
ระยะเวลา 1 ปี
-
ทำงานวิจัยเพียงอย่างเดียว มีอาจารย์ที่ปรึกษา ไม่มีการเรียนรายวิชา
-
ไม่ต้องลงทะเบียนเรียน แต่ได้รับบัตรแสดงตน และมีเลขทะเบียนชัดเจนว่ามีสถานภาพเป็นนักวิจัย(Research Fellow)
-
สามารถใช้บริการห้องสมุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ ได้เช่นเดียวกับนักศึกษาทั่วไป แต่ไม่ต้องเสีย ค่าใช้จ่ายพิเศษ
-
คณะและหรือมหาวิทยาลัย จัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายส่วนตัวและการวิจัยให้ตามความเหมาะสม
-
เมื่อครบกำหนดเวลา ให้มีการนำเสนอผลงานต่อบัณฑิตวิทยาลัย และได้รับเอกสารรับรองสำเร็จการศึกษาวิจัยแบบ Research Fellow
-
เมื่อครบกำหนดเวลาสามารถเปลี่ยนสถานภาพเป็นนักศึกษาบัณฑิตศึกษาได้เลย ทั้งนี้ตามความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาและหลักสูตรที่รับผิดชอบ
-
ต้องไม่ใช่งานรับจ้างจากบริษัทเอกชน แต่เป็นโครงการวิจัยที่ทำร่วมกันได้
ประโยชน์ที่ได้รับ
- เพิ่มโอกาสการทำวิจัยร่วมกันระหว่างเอกชนหรือหน่วยงานอื่นของรัฐและมหาวิทยาลัย
- อาจารย์และนักศึกษามีโอกาสทำงานร่วมกันก่อนจะดำเนินเรื่องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท หรือเอก
- เปิดโอกาสให้นักศึกษาต่างชาติจำนวนมากเข้ามาศึกษาและปรับตัวอยู่ในประเทศไทย
- เปิดโอกาสให้นักวิจัยต่างชาติที่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะศึกษาต่อในประเทศไทยหรือไม่ เข้ามาได้ทำวิจัย
ดาวน์โหลด
- ประกาศฯ เรื่อง แนวปฏิบัติในการรับนักวิจัยในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- บันทึกข้อความนำส่งใบสมัคร สำหรับคณะ
- ใบสมัครนักวิจัย